สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทันตแพทย์พิจารณาถอนฟันเกิดจาก
ฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และผู้ป่วยปฏิเสธการรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันไว้
ฟันแตกหรือหัก จนไม่เหลือเนื้อฟันเพียงพอในการบูรณะฟัน
ฟันโยกจากปัญหาโรคเหงือก ทำให้กระดูกที่อยู่บริเวณรอบตัวฟันละลายจนไม่สามารถที่จะเก็บฟันไว้ได้
ฟันที่มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟันซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่นปัญหาฟันคุด
การถอนฟันเพื่อเป็นการเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน ตามที่ทันตแพทย์เห็นสมตวร
ก่อนที่จะทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประวัติทางการแพทย์ของผู้รับบริการว่ามีโรคประจำตัว หรือมีการทานยาใดๆอยู่เป็น
ประจำหรือไม่ ซึ่งผู้รับบริการควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาแทรกซ้อน
ที่จะเกิดได้ในภายหลัง ก่อนการถอนฟันทันตแพทย์จะมีการถ่ายเอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อพิจารณาว่าความยาว รูปร่างและตำแหน่งของฟัน
และกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน เป็นอย่างไร ก่อนที่จะทำการถอนฟัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการรักษาผู้รับบริการต่อไป
หลังการถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ช.ม. อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซ
หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟัน ให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดให้แน่นอีก ครึ่ง ช.ม.
ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. ภายหลังการถอนฟัน สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผลถอนฟัน
งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการถอนฟันจนแผลหายดี และควร รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การปวดหลังการถอนฟันเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังการถอนฟันประมาณ 2-3 วันแรก ทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน และควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามจำนวนที่ทันตแพทย์สั่ง
ภายหลังการถอนฟัน ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟันทดแทนฟันที่ถอนไปเพื่อป้องกันฟันซี่ข้างเคียงล้มหรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการบดเคี้ยว การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น